ประวัติความเป็นมาศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ขึ้น ในวันที่ ๒๕ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕ เพื่อให้มีการศึกษา ทดลอง งานพัฒนาการเกษตรต่าง ๆ ตามความเหมาะสมสำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปปฏิบัติต่อไป และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพื้นที่ที่จะจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ บริเวณบ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๖
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่โครงการฯ ประมาณ 2,100 ไร่ และมีเขตปริมณฑลเพื่อการพัฒนาป่าไม้ประมาณ 11,000 ไร่ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2527 โดยมีกรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักและมีหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทุก ๆ ส่วน เข้าร่วมในการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นที่จะให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ภูพานฯ เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลองการเกษตรในด้านต่างๆ ตลอดจนการอบรมและเผยแพร่ไปสู่ข้าราชการ และเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านตัวอย่างในรูปแบบหมู่บ้านสหกรณ์ต่อไป



หน่วยงานที่รับผิดชอบ งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม (สังกัดกรมวิชาการเกษตร)
๑. หน่วยงานหลัก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร
๒. หน่วยงานที่ร่วมดำเนินการ
๑) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร
๒) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม
๓) ศูนย์วิจัยยางหนองคาย
วัตถุประสงค์
ในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ นั้น ทางศูนย์ฯ ได้ดำเนินงานโดยสนองพระราชดำริด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ ๔ ประการ ดังนี้
- เพื่อเป็นศูนย์ศึกษา และทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่าง ๆ ตามความเหมาะสม สำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปใช้ปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง
- เพื่อส่งเสริมให้มีการบำรุงรักษา และพัฒนาป่าไม้ในเขตปริมณฑลของศูนย์ฯ ด้วยระบบชลประทานแบบง่าย ๆ
- เพื่อส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจ และนำผลผลิตทางเกษตรมาแปรรูปเป็นสินค้าเกษตร-อุตสาหกรรม
- เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ราษฎรมีอาชีพที่มั่นคง และมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว
งาน
– ศึกษา
1.กิจกรรมพืชไร่
ดำเนินงานสาธิตการปลูกพืชไร่พันธุ์ดี เช่น ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเทียน ถั่วลิสง พันธุ์ ขอนแก่น6 พันธุ์ไทนาน9 อ้อยคั้นน้ำ พันธุ์สุพรรณบุรี50 ถั่วพุ่มดำ พันธุ์อุบลราชธานี กระเจี๊ยบแดง พันธุ์ ซูดาน ปอโมโรเฮยะ งาแดง งาขาว และงาดำ งานทดสอบ และงานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี การปลูกพืชไร่หลังนา
2.กิจกรรมพืชสวน




3.กิจกรรมเพาะเห็ด ดำเนินการสาธิตการเพาะเชื้อเห็ดชนิดต่าง ๆ (ผลิตอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA และการผลิตเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง) สาธิตการผลิตก้อนเชื้อ การเพาะเห็ดพื้นเมืองและเห็ดเศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ รวมทั้งงานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจ
4.กิจกรรมศึกษาและพัฒนาเกษตรผสมผสาน
5.กิจกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ดำเนินการสาธิตและทดสอบการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรต่าง ๆ เช่น สาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วเขียว ถั่วพุ่มดำ การแปรรูปผัก ผลไม้ ตามฤดูกาล การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปอโมโรเฮยะ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว (ธัญพืชอัดแท่ง) การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากอ้อย และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรแก่เกษตรกรและประชาชนที่สนใจ




6.กิจกรรมยางพารา ดำเนินการสาธิตการปลูกยางพาราพันธุ์



