ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร
เนื่องจากกรมกสิกรรมมีนโยบายที่จะขยายงานด้านการปรับปรุง และค้นคว้าการปลูกพืชที่เหมาะสมกับ
ภูมิประเทศขยายพันธุ์พืชที่ประชาชนในท้องถิ่นต้องการ โดยมีการค้นคว้าทดลอง การขยายพันธุ์พืช
และงานส่งเสริมอยู่รวมกันขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อยกระดับมาตรฐาน
การครองชีพของกสิกรให้ดีขึ้น และเห็นว่าจังหวัดสกลนครเป็นจังหวัดหนึ่ง ที่เหมาะสมที่จะตั้งสถานี
ขยายพันธุ์พืชขึ้น จึงได้เริ่มดำเนินการ ในปีงบประมาณ 2505 โดยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2505 ได้มา
เช่าอาคารที่ในเมืองเป็นที่การชั่วคราว และได้ออกสำรวจเพื่อหาที่ดินเพื่อที่จะเป็นสถานีฯ โดยยึด
นโยบายที่จะหาที่ใกล้ที่หลวง,ใกล้จังหวัดฯ ที่สำคัญได้โดยไม่ต้องซื้อ หลังจากได้สำรวจดูทั่วจังหวัด
สกลนครแล้ว ก็ตกลงเอาที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งอยู่ริมทางหลวงสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ ตรงกิโลเมตร
ที่ 9+365 หมู่บ้านนาคำ หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
ซึ่งได้รับความกรุณาจากนายแพทย์รำไพ ศิริขันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร เป็นผู้สืบหา
ให้เป็นที่ 40 ไร่เศษ อยู่ติดทางหลวง และขยายเอาที่รกร้างว่างเปล่าด้านหลังต่อไปอีก 240 ไร่เศษ เริ่ม
ดำเนินการเปิดป่า,ขุดตอ,ปราบที่ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2505 และก่อสร้างอาคารเมื่อเดือนมิถุนายน
2505 สถานีฯ ทำการเปิดป่าเพื่อทำการทดลอง และขยายพันธุ์พืชได้ 120 ไร่ เป็นที่สร้างอาคารและ
อื่น ๆ 40 ไร่ และในปี 2509 ได้บุกเบิกป่าเพื่อปลูกพืชเพิ่มขึ้นอีก 50 ไร่
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกรมกสิกรรม ดังนี้
ในปี พ.ศ. 2516 เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีทดลองพืชไร่สกลนคร” สังกัดกองพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร
ในปีพ.ศ. 2525 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกรมวิชาการเกษตรใหม่ตามโครงการวิจัยเกษตร
แห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร โดยสถานีทดลองพืชไร่สกลนคร เป็นสถานีเครือข่ายของศูนย์วิจัย
พืชไร่อุบลราชธานี สังกัดสถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร
ในปีพ.ศ. 2546 กรมวิชาการเกษตร ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ ตามแผนปฏิรูประบบราชการ
และเปลี่ยนชื่อจากสถานีทดลองพืชไร่สกลนคร เป็น “ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต
สกลนคร” โดยที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัด
ขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในปีพ.ศ. 2554 กรมวิชาการเกษตร ได้ปรับเปลี่ยนชื่อจากสถานีทดลองพืชไร่สกลนคร เป็น
“ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร” สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัด
ขอนแกน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์